top of page

แต่ละวิชาเรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง?

idea.png

วิชาก่อนเข้าเอก

ปีี 1 เทอมต้น

2206104 ทักษะการค้นคว้าและการค้นคืนสารสนเทศ Research and Information Retrieval Skills 

(หรือจะเรียน 2206103 ทักษะการค้นคว้าและการใช้คอมพิวเตอร์ Research and Computer Skills ก็ได้เช่นกัน)

วิชานี้เป็นวิชาที่สอนทักษะการค้นคว้าและการเขียนงานวิชาการ งานวิจัย รวมถึงการอ้างอิง การค้นให้ดีครอบคลุมเรื่องที่ต้องการทั้งหมด เคล็ดลับอยู่ที่ “คำค้น” ของผู้ค้น 

และเทคนิคในการจับคู่คำค้น เราจะมาเรียนรู้เบื้องหลังการทำงานของฐานข้อมูล และการพิชิตการค้นให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อให้ได้สารสนเทศสำหรับการทำงานวิชาการ

รวมถึงสามารถนำไปใช้สืบค้นฐานข้อมูลพาณิชย์อื่น ๆ ได้ด้วย

ปีี 1 เทอมปลาย

2209161 ภาษาทัศนา Introduction to Language

เป็นวิชาบังคับหลักสูตรอักษรศาสตร์บัณฑิตในส่วนของภาควิชาภาษาศาสตร์ที่นิสิตอักษรฯทุกคนต้องเรียน สอนเนื้อหาเบื้องต้นจากภาษาศาสตร์หลากหลายแขนงตั้งแต่

ภาษาคืออะไร การเรียนรู้ภาษา ความหมายในภาษา วัจนปฏิบัติศาสตร์ ระบบไวยากรณ์ต่าง ๆ เสียงในภาษา ภาษาศาสตร์และสังคม ภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์ เป็นต้น

ซึ่งเนื้อหาที่เรียนในรายวิชาอื่น ๆ ที่จัดสอนโดยภาควิชาภาษาศาสตร์ เป็นการนำหัวข้อเหล่านี้มาเรียนให้ลึกและละเอียดยิ่งขึ้น ถ้าชอบภาษาทัศนา การเรียนเอกเทคโนโลยีภาษาฯ

คืออีกทางเลือกที่ดี

speak_edited.png

สงสัยว่าแต่ละวิชาสอนอะไรบ้าง? เลือกไม่ถูกว่าจะเรียนวิชาเลือกตัวไหนดี เพราะไม่รู้ว่าเรียนเกี่ยวกับอะไร? อ่านดูเผื่อจะช่วยได้นะ!

วิชาหลังเข้าเอก

วิชาบังคับ 27 หน่วยกิต                           

       

ปีี 2 เทอมต้น                                                   

2206323* การวิเคราะห์และออกแบบสารสนเทศ Information System Analysis and Design

วงจรชีวิตระบบสารสนเทศ กรจัดการโครงการวิเคราะห์และออกแบบระบบ วิธีการและเครื่องมือสำหรับการวิเคราะห์และออกแบบระบบ การอนุวัตระบบ การบำรุงรักษาระบบ

 

2209308 ระบบเสียง Sound System

ถึงคุณจะพูดได้แค่ภาษาเดียว แต่วิชานี้สอนให้สามารถวิเคราะห์ระบบและปรากฏการณ์ทางเสียงในภาษาทั่วโลกได้ เรียนรู้เรื่องเสียงในภาษาอย่างถึงแก่น

ตั้งแต่อวัยวะการผลิตเสียง คลื่นเสียง กฎทางเสียง การรู้จำเสียง และรูปแบบของระบบเสียงที่คล้ายกันในภาษาทั่วโลก

2209261* การเขียนโปรแกรมพื้นฐานเพื่อการประมวลผลภาษาธรรมชาติ Basic Programming for Natural Language Processing

เรียนการเขียนโปรแกรมโดยเริ่มจากศูนย์เลย ไม่ต้องมีพื้นฐานอะไรทั้งนั้น ทักษะการเขียนโปรแกรมทำให้เราสั่งให้คอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์สมาร์ทโฟนของเราอ่านข้อมูล

หรือดึงข้อมูลจากเฟสบุ๊ค ทวิตเตอร์หรือเว็บไซต์ แล้วเอามาวิเคราะห์โดยอัตโนมัติได้ เป็นทักษะที่สำคัญในยุค AI ครองโลกจริง ๆ

ปีี 2 เทอมปลาย

2206385* การจัดการฐานข้อมูลในงานสารสนเทศ Database Management in Information Work

การออกแบบและพัฒนาฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ ภาษาเอกคิวแอล ฐานข้อมูลสำหรับข้อมูลแบบไม่มีโครงสร้าง

2209305 ความหมายในภาษา Meaning in Language

ศึกษาความหมายที่แฝงมาตามคำ ประโยค และบทสนทนา ถ้าเราเข้าใจการสื่อความหมายของคำ เราสามารถสอนเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เข้าใจภาษาและโต้ตอบแทนมนุษย์ได้

เรารู้และตรวจสอบได้ยังไงว่าคำสองคำนั้นมีความหมายเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร ความหมายในประโยคหนึ่งนั้นเกี่ยวโยงประโยคอื่นในลักษณะไหนได้บ้าง คนถามมาหนึ่งอย่าง

เราสามารให้คำตอบแบบไหนได้บ้างถึงจะถูกจุด

2209372* ภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์เบื้องต้น Introduction to Computational Linguistics

เทคนิคการสอนคอมพิวเตอร์ให้เข้าใจภาษาด้วยความรู้ทางภาษาศาสตร์ผนึกกำลังกับปัญญาประดิษฐ์

                                                      

ปีี 3 เทอมต้น

 

2209368* การวิเคราะห์ภาษาไทยตามแนวภาษาศาสตร์ Linguistic Analysis of Thai

มองภาษาไทยให้ทะลุด้วยแนวคิดและการวิเคราะห์อย่างภาษาศาสตร์ ทั้งด้านเสียง คำ ไวยากรณ์ และความหมาย เจาะลึกประเด็นทางภาษาไทยที่น่าสนใจ

และฝึกคิดสร้างสรรค์การใช้ผลการวิเคราะห์ในงานทางด้านเทคโนโลยีภาษาและด้านอื่น ๆ

 

2206366* สถิติเพื่อการวิจัยด้านมนุษยศาสตร์ Statistics for Humanities Research

ความรู้ทางสถิติต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลทางมนุษยศาสตร์ สถิติที่ใช้สรุปภาพความเข้าใจข้อมูลที่มี   สถิติที่ใช้เพื่อช่วยให้เห็นความสัมพันธ์

ของตัวแปรต่าง ๆ ที่มีอยู่ในข้อมูลนั้น

                                      

                         

วิชาบังคับเลือก 6 หน่วยกิต

2206491* โครงการสารสนเทศศึกษา 1                                                       

2206492* โครงการสารสนเทศศึกษา 2

2209491* โครงการเทคโนโลยีภาษา 1

2209492* โครงการเทคโนโลยีภาษา 2                    

               

                                                       

วิชาเลือก 9 หน่วยกิต

 

2200290* พื้นฐานมนุษยศาสตร์ดิจิทัล Introduction to Digital Humanities

เสนอภาพรวมให้เข้าใจว่าความรู้และเทคโนโลยีปัจจุบันเข้ามาตอบโจทย์ทางมนุษยศาสตร์ได้อย่างไร การศึกษาในแนวใหม่นี้แตกต่างจากการศึกษามนุษยศาสตร์เดิมอย่างไร

ช่วยเสริมให้เราเข้าใจศาสตร์ต่าง ๆ มากขึ้นอย่างไร

 

2200490* สัมมนามนุษยศาสตร์ดิจิทัล Seminar on Digital Humanities

ร่วมกันค้นหาคำถามทางมนุษยศาสตร์ที่เทคโนโลยีสามารถช่วยนักมนุษยศาสตร์ตอบคำถามได้ และติดตามเทคโนโลยีล้ำสมัยที่นำมาใช้ในงานด้านมนุษยศาสตร์

 

2206285* การแปลงให้อยู่ในรูปดิจิทัล Digitization

ชุบชีวิตเอกสารโบราณ เอกสารทั่วไป ภาพ และสื่อโสตทัศนวัสดุให้อยู่ในรูปดิจิทัล เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้คนในยุคดิจิทัล เข้าใจกระบวนการการแปลงให้อยู่ในรูป

ดิจิทัลที่มากกว่าการใช้เครื่องสแกนเนอร์ จัดระบบตัวแทนเอกสารดิจิทัลเพื่อให้เข้าถึงได้ออนไลน์โดยอยู่บนพื้นฐานกฏหมายและจริยธรรมที่เกี่ยวข้อง ได้ลงมือปฏิบัติจริง พัฒนาโครงการเอกสารดิจิทัลด้วยตัวเองได้

 

2206289* การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายในงานสารสนเทศ Data Communications and Networking in Information work

วิชานี้ผู้เรียนจะมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิวัฒนาการการสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายรูปแบบของการส่งผ่านข้อมูล

สถาปัตยกรรมการสื่อสารข้อมูล รวมถึงการรักษาความปลอดภัยของเครือข่ายสำหรับผู้เรียนนำไปประยุกต์ใช้กับงานสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพและน่าเชื่อถือ

 

2206386* การออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ User Interface Design

ในวิชานี้ ผู้เรียนจะได้เรียนรู้แนวคิดสำคัญเกี่ยวกับการออกแบบส่วนต่อประสานที่มีผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง เข้าใจลักษณะและคุณสมบัติของมนุษย์ รวมถึงความรู้ที่จำเป็นเพื่อ

การออกแบบ การพัฒนา ตลอดจนการประเมินส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ในงานสารสนเทศ  ​

 

2206442* เครื่องมือสำหรับมนุษยศาสตร์ดิจิทัล Tools for Digital Humanities

เรียนรู้การใช้โปรแกรมและเครื่องมือต่าง ๆ ที่มีอยู่  เพื่อนำมาใช้วิเคราะห์ข้อมูลทางมนุษยศาสตร์ ใช้แสดงผลในรูปต่าง ๆ เช่น โปรแกรม concordance, wordcloud,

Tableau, Rapid miner, ฯลฯ

 

2206489 การศึกษาอิสระ Independent Study

เป็นการทำวิจัยเรื่องคัดเฉพาะทางสารสนเทศศึกษา ตามความสนใจของผู้เรียน และนำเสนอผลงานวิจัย

 

2209309 การแปรและการเปลี่ยนแปลงในภาษา Variation and Change in Language

ทำความเข้าใจการใช้ภาษาที่หลากหลายของกลุ่มคนที่มีเพศ อายุ การศึกษา ชนชั้น อุดมการณ์ ฯลฯ ต่างกัน และการใช้ภาษาที่เปลี่ยนไปตามสถานการณ์ ทำความเข้าใจ

การเปลี่ยนแปลงของภาษามนุษย์ตามกาลเวลา ทั้งด้านเสียง คำ ไวยากรณ์ และความหมาย

 

2209344 ภาษาศาสตร์กับการแปล Linguistics and Translation  

เรียนแนวคิดทางภาษาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการแปล ไม่ว่าจะเป็นด้านไวยากรณ์ ความหมาย การใช้ภาษาในบริบทการสื่อสาร นำทฤษฎีทางภาษาศาสตร์มาวิเคราะห์บทแปล

และฝึกสร้างสรรค์ผลงานแปลชั้นยอดโดยใช้แนวคิดและการวิเคราะห์ทางภาษาศาสตร์

 

2209370 ภาษาและความคิด Language and Mind

ถ้ามนุษย์ใช้ภาษาในการสื่อสาร แล้วสัตว์ล่ะ สื่อสารกันอย่างไร? สมองของคนเราประมวลภาษาได้อย่างไร ทำไมเราถึงเข้าใจสิ่งที่คนอื่นพูด ทำไมได้ยินเสียงนี้

แล้วในสมองจึงเข้าใจความหมายโดยอัตโนมัติ? ผู้เรียนจะได้ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับภาษาและความคิด ในหลากหลายมุมมอง ได้แก่ ความสามารถทางภาษาของมนุษย์และสัตว์

การรับภาษาของเด็ก การรับรู้เสียงพูด การเข้าใจภาษา การผลิตภาษา การรับภาษาที่สอง สมองกับภาษา วัฒนธรรม และปริชาน

 

2209373 ภาษากับวัฒนธรรม Language and Culture

ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรมในแง่มุมต่าง ๆ ทั้งลักษณะทางวัฒนธรรมที่สะท้อนผ่านภาษา และอิทธิพลของภาษาที่มีต่อความคิดและพฤติกรรมของผู้พูด

ดูตัวอย่างการทดลองจากหลากหลายภาษาทั่วโลกเพื่อพิสูจน์บทบาทของภาษาในฐานะสิ่งที่สร้าง “ความเป็นจริง” ทำความเข้าใจประเด็นสำคัญต่าง ๆ เกี่ยวกับภาษากับวัฒนธรรม

ทั้งเรื่องการจำแนกประเภทในภาษา อวัจนภาษา คำเรียกสี คำเรียกญาติ สังคมพหุภาษา และอุปลักษณ์

 

2209376 คลังข้อมูลภาษา Language Corpora

การออกแบบและเก็บรวบรวมข้อมูลภาษาเพื่อมาใช้ประโยชน์ในงานด้านต่าง ๆ เช่น  การวิจัยภาษา การสอนภาษา การแปล การทำพจนานุกรมการประมวลผลภาษา

จะได้ฝึกใช้โปรแกรมและเครื่องมือต่างๆ ที่สามารถนำมาใช้วิเคราะห์ภาษาในแง่มุมต่าง ๆ ได้มากขึ้น

 

2209381* เทคโนโลยีวัจนะ Speech Technology     

ตอนนี้ปุ่มไมโครโฟนมีอยู่เต็มไปหมดที่มีหน้าที่เปลี่ยนเสียงพูดให้เป็นตัวอักษรโดยอัตโนมัติ  เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับเสียงพูดตอนนี้กำลังโผล่ออกตามหน้าแอพพลิเคชัน

เต็มไปหมด เราจะมาดูว่ากระบวนการฝึกให้เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจเสียงพูดของเราแล้วเขียนออกมาแทนเรามีขั้นตอนอะไรยังไงบ้าง แล้วใช้ภาษาศาสตร์มาผสมผสานกับคอมพิวเตอร์อย่างไรบ้าง

 

2209382* การแปลภาษาด้วยเครื่อง Machine Translation

ทุกคนน่าจะเคยใช้บริการการแปลด้วยเครื่องแบบออนไลน์สักครั้งในชีวิต พอก็อปวางข้อความเข้าไปแล้วคำแปลก็จะโพล่ออกมาในไม่กี่วินาที ถึงบางทีไวยากรณ์จะแปลก ๆ

คำที่ใช้จะแปร่ง ๆ แต่ก็ถือว่ายังอ่านรู้เรื่อง มันคือการแปลภาษาด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือก็คือเนื้อหาที่ผู้เรียนจะได้เรียนในรายวิชานี้ ได้แก่ แนวคิดพื้นฐานและวิธีการทางสถิติที่เกี่ยวกับการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการแปลภาษา รวมไปถึงวิธีการแปลที่คอมพิวเตอร์ใช้ เช่น การแปลโดยยึดคำเป็นหลัก การแปลโดยยึดวลีเป็นหลัก ฯลฯ และได้เรียนการพัฒนาระบบ

การแปลภาษาดังกล่าวเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น

 

2209390* เรื่องคัดเฉพาะทางเทคโนโลยีภาษา Selected Topics in Language Technology

เนื้อหาที่เรียนในรายวิชานี้จะเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ สามารถสอบถามได้ที่ภาควิชาฯ

 

 เครื่องหมาย "*" คือรายวิชาเปิดใหม่

}

คือการทำ Senior Project 2 ตัว

bottom of page