สาขาวิชาเทคโนโลยีภาษาและสารสนเทศ
หากสงสัยว่า "สาขาวิชาเทคโนโลยีภาษาและสารสนเทศ"
- คืออะไร?
- เรียนอะไรบ้าง?
- จบแล้วไปไหน?
วันนี้เราจะมาไขข้อสงสัยเหล่านี้กัน!!
WHAT IS Language TECHNOLOGY?
สาขาวิชาเทคโนโลยีภาษาและสารสนเทศ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า Lang Tech เป็นสาขาวิชาเปิดใหม่ และเป็นการร่วมมือกันระหว่างภาควิชาบรรณารักษศาสตร์
และภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ภาษาศาสตร์คืออะไร? ภาษาศาสตร์ (linguistics) เป็นการศึกษาภาษาเพื่อให้เข้าใจธรรมชาติหรือระบบของภาษามนุษย์ โดยใช้แนวคิด ทฤษฎีและวิธีการวิจัยที่เป็น
วิทยาศาสตร์ ประเด็นต่าง ๆ ที่นักภาษาศาสตร์ให้ความสนใจมีมากมาย เช่น เสียงหรือไวยากรณ์ในภาษาต่าง ๆ ทั่วโลกมีลักษณะอย่างไรบ้าง เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร มนุษย์เราสามารถเข้าใจและตีความความหมายของคำศัพท์หรือประโยคได้อย่างไร เป็นต้น โดยที่ภาษาศาสตร์สามารถแบ่งได้เป็น 2 แขนงหลักคือ ภาษาศาสตร์ทั่วไป (General linguistics) และภาษาศาสตร์ประยุกต์ (Applied linguistics) ภาษาศาสตร์ทั่วไปศึกษาตัวภาษาโดยตรงโดยไม่ได้เชื่อมโยงกับศาสตร์แขนงอื่นๆ ขณะที่ภาษาศาสตร์ประยุกต์ ศึกษาภาษาโดยเชื่อมโยงกับศาสตร์แขนงอื่น ๆ เช่น สังคมวิทยา คอมพิวเตอร์ มีการประยุกต์องค์ความรู้ทางภาษาศาสตร์เพื่อใช้แก้ปัญหาต่าง ๆ เช่น การเรียนการสอนภาษา
ต่างประเทศ การสร้างเสียงสังเคราะห์ หรือปัญญาประดิษฐ์ เป็นต้น
สารสนเทศคืออะไร? สารสนเทศ (information) คือ ข้อมูล (data) ที่ผ่านการประมวล จัดเก็บ เรียบเรียงให้เป็นระบบ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้
ดังนั้น เทคโนโลยีภาษาและสารสนเทศ ก็คือการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้กับการศึกษาภาษาในเชิงภาษาศาสตร์ และการจัดการสารสนเทศ นั่นเอง โดยที่ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ จัดสอนรายวิชาที่เกี่ยวกับสารสนเทศ และเทคโนโลยีสารสนเทศ และภาควิชาภาษาศาสตร์ จัดสอนรายวิชาที่เกี่ยวกับภาษาศาสตร์ ภาษาศาสตร์ประยุกต์
และเทคโนโลยีภาษา
หลายคนคงสงสัยและตั้งคำถามเหล่านี้
ใครเรียนได้บ้าง?
ใคร ๆ ก็สามารถเรียนได้ ไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานด้านเทคโนโลยี ภาษาศาสตร์ สารสนเทศ หรือบรรณารักษศาสตร์ ขอแค่ชอบและมีใจรัก
หรือมีความสนใจในศาสตร์เหล่านี้ก็พอ!
เรียนอะไรบ้าง?
เอกของเรามีวิชาน่าสนใจมากมายถ้าอยากรู้ว่าเรียนอะไรอีกบ้าง
เรียนแล้วเอาไปทำอะไร?
ลองมาเรียนแล้วจะรู้ว่าเอกนี้มีอะไรมากกว่าที่คุณคิด